งาน 19 โครงงานเครื่องกระปุกออมสินนับเงินอัตโนมัติ
Contact: +66 (0)86 246-2446 | help@aimagin.com
โครงงานเครื่องกระปุกออมสินนับเงินอัตโนมัติ
February 11, 2014admin1 CommentKMUTNB - Mechatronics 56, โปรเจคตัวอย่าง
โดย นายวิษณุกร จักร์คร่อง (oat_ko-one@hotmail.com)
สาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Download: Simulink Model File (proj12_AutoCounter_PiggyBank.7z)
Contents [hide]
การต่อวงจรสำหรับนับเงินในกระปุกออมสินอัตโนมัติ
การต่อวงจรที่สมบูรณ์ของโครงงาน
หลักการทำงานของโครงงาน กระปุกออมสินนับเงินอัตโนมัติ
การนำ กระปุกออมสินนับเงินอัตโนมัติ ไปใช้งาน
โปรแกรม Simulink ที่สมบูรณ์ของโครงงาน
โปรแกรม Simulink ที่ใช้ทั้งหมดในโครงงาน
สรุปผลการทำงานของโครงงาน กระปุกออมสินนับเงินอัตโนมัติ
ที่มาและความเป็นมาของโครงงาน
เนื่องจากในปัจจุบันนี้ชุมชนของเรามีการรณรงค์ให้รู้จักอดออม หยอดเหรียญในกระปุกออมสินเกือบทุกครัวเรือนซึ่งในการหยอดเหรียญออมในกระปุกนั้นมีปัญหาหลายอย่างเช่น บางครั้งก็อยากรู้ยอดเงินในกระปุกออมสินที่หยอด บางครั้งก็นับแล้วลืมและในกระปุกออมสินบางชนิดใช้ได้เพียงครั้งเดียว
ดังนั้นจากปัญหาข้างต้นที่กล่าวมาจึงได้คิดหาวิธีแก้ปัญหานี้โดยการสร้าง กระปุกออมสินนับเงินอัตโนมัติ ขึ้นมาโดยกระปุกออมสินนี้สามารถ นับจำนวนเงินและบอกจำนวนเหรียญแต่ละชนิดที่หยอดลงไปในกระปุกได้ในขณะเดียวกันด้วย และเมื่อกระปุกออมสินเต็มยังสามารถนำเหรียญออกมา แล้ว reset ค่าเพื่อเริ่มใช้งานกระปุกออมสินใหม่อีกครั้ง
ในการสร้างโครงงานนี้ จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาของการลืมยอดเงินในกระปุกอออมสิน ปัญหาของการใช้กระปุกออมสินได้ครั้งเดียว หรือไม่ว่าจะเป็นปัญหาของการอยากทราบยอดเงินในกระปุกออมสิน โครงงานนี้ก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้
คุณสมบัติการทำงานของโครงงาน
สามารถนับยอดเงินที่หยอดในกระปุกออมสินได้
สามารถนับจำนวนเหรียญที่หยอดได้
ใช้ได้กับเหรียญ 1 บาท เหรียญ 5 บาท และเหรียญ 10 บาท
แสดงยอดเงินรวมและจำนวนเหรียญแต่ละชนิดผ่านจอ LCD
การต่อวงจรสำหรับนับเงินในกระปุกออมสินอัตโนมัติ
รูปที่ 2 วงจรที่สมบูรณ์
การต่อวงจรที่สมบูรณ์ของโครงงาน
เป็นการนำเซนเซอร์ก้ามปูมาใช้ในการนับเหรียญ และนับจำนวนเงิน โดยจะใช้เซนเซอร์ก้ามปูทั้งหมด 3 ตัวใช้ไฟเลี้ยง 5 V จำนวนเงินและจำนวนเหรียญที่นับได้จะแสดงผลบนจอ LCD โดยเซนเซอร์ตัวที่ 1 นำ Output ต่อเข้าที่ขา PA0 ทำหน้าที่ตรวจว่าเป็นเหรียญ 1 บาท หรือไม่ ถ้าเป็นก็นับจำนวนเงินเพิ่ม 1 บาท และนับจำนวนเหรียญ 1 บาท เพิ่มขึ้น 1 เหรียญ ส่วนเซนเซอร์ตัวที่ 2 นำ Output ต่อเข้าที่ขา PA1 ทำหน้าที่ตรวจว่าเป็นเหรียญ 5 บาท หรือไม่ ถ้าเป็นก็นับจำนวนเงินเพิ่ม 5 บาท และนับจำนวนเหรียญ 5 บาท เพิ่มขึ้น 1 เหรียญ ส่วนเซนเซอร์ตัวที่ 3 นำ Output ต่อเข้าที่ขา PA2 ทำหน้าที่ตรวจว่าเป็นเหรียญ 10 บาท หรือไม่ ถ้าเป็นก็นับจำนวนเงินเพิ่ม 10 บาท และนับจำนวนเหรียญ 10 บาท เพิ่มขึ้น 1 เหรียญ ส่วนสวิทซ์ Reset ต่อเข้าที่ขา PA3 ทำหน้าที่ Reset ค่าเมื่อเรานำเหรียญออกจากกระปุก แล้วเราก็จะกดสวิทซ์เพื่อทำการ Reset ค่าให้เริ่มนับใหม่เพื่อใช้ในครั้งต่อไปได้และส่วนประกอบของวงจรประกอบไปด้วย
เซนเซอร์ก้ามปู 3 ตัว
บอร์ด STM32F4Discovery
Adapter DC 3.3 v และ 5 v
สวิทซ์ reset
การออกแบบโครงงาน
1. การติดเซนเซอร์และทางเดินของเหรียญ สำหรับการติดเซนเซอร์และทางเดินของเหรียญนั้น ทางเดินของเหรียญนั้นจะต้องเอี้ยงพอที่เซนเซอร์จะสามารถค่าอ่านทัน จากการทดลองปรากฏว่าเซนเซอร์อ่านค่าทันที่มุมเอียง 35 องศา
2. การนับเหรียญ เซนเซอร์ตัวที่ 1 นั้นทุกเหรียญจะต้องผ่านทั้งหมด เซนเซอร์ตัวที่ 2 จะมีแค่เหรียญ 5 บาท กับเหรียญ 10 บาทผ่านเหรียญ 1 บาทจะไม่ผ่านและเซนเซอร์ตัวที่ 3 จะมีแค่เหรียญ 10 บาทเท่านั้นที่ผ่านเหรียญ 5 บาทและเหรียญ 1 บาทจะไม่ผ่าน การนับค่านั้นจะถูกกำหนดไว้ว่า ถ้าผ่านเซนเซอร์ตัวที่ 1 โปรแกรมจะสั่งให้นับเพิ่ม 1 บาท ถ้าผ่านเซนเซอร์ตัวที่ 2 โปรแกรมจะสั่งให้นับเพิ่ม 4 บาท และถ้าผ่านเซนเซอร์ตัวที่ 3 โปรแกรมจะสั่งให้นับเพิ่ม 5 บาท
ตัวอย่างการนับเหรียญ
– นับเหรียญ 1 บาทความสูงของเหรียญ 1 บาทจะผ่านแค่เซนเซอร์ตัวที่ 1 แต่จะไม่ผ่านเซนเซอร์ตัวที่ 2 และตัวที่ 3 ดั้งนั้นจากข้างต้นผลรวมของเงินจะถูกนับเพิ่ม 1 บาท
– นับเหรียญ 5 บาทความสูงของเหรียญ 5 บาทจะผ่านเซนเซอร์ตัวที่ 1และ เซนเซอร์ตัวที่ 2 แต่ไม่ผ่านเซนเซอร์ตัวที่ 3 ดั้งนั้นจากข้างต้นผลรวมของเงินจะถูกนับเพิ่ม 1 บาท + 4 บาท เท่ากับ 5 บาท
– นับเหรียญ 10 บาทความสูงของเหรียญ 10 บาทจะผ่านเซนเซอร์ตัวที่ 1 เซนเซอร์ตัวที่ 2 และเซนเซอร์ตัวที่ 3 ดั้งนั้นจากข้างต้นผลรวมของเงินจะถูกนับเพิ่ม 1 บาท + 4 บาท + 5 บาท เท่ากับ 10 บาท
หลักการทำงานของโครงงาน กระปุกออมสินนับเงินอัตโนมัติ
เมื่อจ่ายไฟให้วงจรเริ่มทำงานเมื่อหยอดเหรียญ 1 บาท 5 บาท หรือ 10 บาทแล้วนั้น เหรียญแต่ละชนิดจะวิ่งผ่านเซนเซอร์ต่างกันตามที่กล่าวมาข้างต้นจากนั้น โปรแกรมจะทำการรวมยอดเงินที่บวกเพิ่ม แสดงผ่านจอ LCD ว่าขณะนั้นได้มีเงินในกระปุกออมสินเท่าไร เหรียญแต่ละชนิดกี่เหรียญ และเมื่อกระปุมออมสินเต็มก็สามารถนำเงินออกมาแล้วกดปุ่ม reset ค่าเพื่อเริ่มใช้งานกระปุกออมสินใหม่อีกครั้ง
การนำ กระปุกออมสินนับเงินอัตโนมัติ ไปใช้งาน
1. เสียบปลั๊ก Adapter dc 3.3 v และ 5 v
2. หยอดเหรียญตรงช่องหยอดเหรียญ
3. ผลรวมยอดเงินและจำนวนของเหรียญชนิดต่างๆแสดงออกทางจอ LCD
4. เมื่อเหรียญเต็มให้ดึงที่จับด้านส่งออกเพื่อนำเงินที่หยอดไว้ออกไปใช้ได้
5. กดปุ่ม reset ค่าเพื่อเริ่มใช้งานกระปุกออมสินใหม่อีกครั้ง
โปรแกรม Simulink ที่สมบูรณ์ของโครงงาน
รูปที่ 3 โปรแกรม Simulink ของโครงงานกระปุกออมสินนับเงินอัตโนมัติ
โปรแกรม Simulink ที่ใช้ทั้งหมดในโครงงาน
1. Target Setup – เพื่อเป็นการกำหนดว่าเราใช้บอร์ด Waijung blockset 13.07a บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32F4
2. Character LCD Setup – เป็นการตั้งค่าเลือกใช้จอ LCD เพื่อใช้ในการแสดงผล
3. Volatile Data Storage – เป็นการประกาศค่าตัวแปรเพื่อเก็บค่าลงในไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็นตัวแปรชนิด(int32)
4. Volatile Data Storage – เป็นการประกาศค่าตัวแปรเพื่อเก็บค่าลงในไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็นตัวแปรชนิด(string) เพื่อนำไปแสดงผลที่จอ LCD
5. Volatile Data Storage Write – เป็นการเขียนค่าตัวแปรเพื่อนำค่าที่ออกมาจาก MATLAB Functions ไปเก็บไว้ที่ Block Volatile Data Storage ตามตัวแปรที่เราได้ประกาศไว้
6. Volatile Data Storage Read – ทำหน้าที่อ่านค่าที่เราเขียนไว้ใน Block Volatile Data Storage Write
7. Printf – เป็น Block ที่นำค่าที่ได้จาก Block Volatile Data Storage Read ไปแสดงผลบนหน้าจอ LCD
8. Character LCD Write – เป็นการตั้งค่าการแสดงผลของจอ LCD ตรง Port cmd จะเป็นการตั้งให้เคลียร์ค่าก่อนแสดงผลหรือป่าวถ้าเป็น 1 ให้เคลียร์ ถ้าเป็น 0 ไม่เคลียร์ ตรง Port xpos คือ ให้เริ่มต้นแสดงผลในตำแหน่งไหนในแนวแกน x ตรง Port ypos คือให้เริ่มต้นแสดงผลในตำแหน่งไหนในแนวแกน y ส่วน Port str คือค่าที่เราจะแสดงผลบนจอ LCD
9. Digital Input – ทำหน้าที่เพื่อรับค่าจากเซนเซอร์และสวิทซ์แล้วนำไปเข้าที่ Block MATLAB Functions เพื่อนำค่าที่ได้ไปประมวลผลว่าเป็นเหรียญชนิดใด
10. MATLAB Functions
MATLAB Functions ใช้สำหรับเขียนโค๊ดโปรแกรมนับยอดเงินรวมในกระปุกออมสินและนับจำนวนเหรียญ 1 บาท เหรียญ 5 บาท และเหรียญ 10 บาท ส่วนโค๊ดใน MATLAB Functions จะเป็นแบบ m-file โค๊ด ส่วน m-fileโค๊ดในแต่ละ Block ใน MATLAB Functions นั้นเราจะแยกอธิบายในแต่ละ Block หลังจากนี้ คือ
m-file โค๊ด ใน MATLAB Functions Block ที่ 1 (นับยอดเงินรวม)
m-file โค๊ด ใน MATLAB Functions Block ที่ 2 (นับจำนวนเหรียญ 1 บาท)
m-file โค๊ด ใน MATLAB Functions Block ที่ 3 (นับจำนวนเหรียญ 5 บาท)
m-file โค๊ด ใน MATLAB Functions Block ที่ 4 (นับจำนวนเหรียญ 10 บาท)
สรุปผลการทำงานของโครงงาน กระปุกออมสินนับเงินอัตโนมัติ
กระปุกออมสินนับเงินอัตโนมัตินี้ สามมารถนับเงินเหรียญ 1 บาท, 5 บาท, 10 บาทที่หยอดในกระปุกออมสินได้ โดยจะแสดงยอดเงินรวม อีกทั้งยังบอกจำนวนเหรียญแต่ละชนิดผ่านจอ LCD และเมื่อเหรียญเต็มก็สามารถนำเหรียญออกแล้ว reset ค่าเพื่อเริ่มใช้งานกระปุกออมสินใหม่ได้อีกครั้ง แต่กระปุกออมสินนี้ไม่สามารถนับเหรียญ 2 บาทได้
โครงงานนี้เป็นผลงานของนักศึกษา สาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เนื้อหาในบทความเป็นการออกแบบและความเห็นส่วนตัวของผู้ทำโครงงาน บริษัท เอมเมจิน จำกัด อาจไม่เห็นด้วยเสมอไป
Response (1)
phutanet
June 30, 2014 at 8:54 AM · Reply
ผมสนใจโปรเจคนี้มากเลยครับพอจะมีเฟสบุคในการติดต่อไหมครับ
Leave a reply
Categories
การเฝ้าตรวจและควบคุมผ่านเครือข่าย
บทเรียนเกี่ยวกับ Waijung & STM32F4
Recent Posts
ติดตั้งระบบรดน้ำอัตโนมัติที่บ้านลูกค้า (คุณโม) March 12, 2017
ติดตั้งระบบรดน้ำอัตโนมัติที่บ้านลูกค้า (คุณอ้อม)March 9, 2017
Note that Aimagin does not guarantee or warrant the use or content of Aimagin Blog submissions. Any questions, issues, or complaints should be directed to the contributing author.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น