งานที่ 14 เครื่อง Vertical single axis tracker (VSAT)



เครื่อง Vertical single axis tracker (VSAT)


June 22, 2015jijijungNo CommentsKMUTNB – Mechatronics 57

ชื่อผู้ทำโครงงาน นาย ปวพล อุดมพิทยาธร

รหัสประจำตัวนักศึกษา 5502013620060

Simulink model File miniProject2014

 

รูปที่ 1 แบบร่างโครงงาน


 

ที่มาและความเป็นมาของโครงงาน  Vertical single axis tracker

แสงแดดที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้ามีส่วนประกอบ 2 ส่วนหลักๆคือ ส่วนที่เป็นลำแสงโดยตรงกับกับส่วนที่เป็นการฟุ้งกระจายของแสงแดดดังในรูป

 

รูปที่ 2 ลักษณะของแสงแดด


 

โดยส่วนที่เป็นลำแสงโดยตรงนั้นมีพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ถึง 90 % ส่วนในสัดส่วนของการฟุ้งกระจายนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้าในแต่ละวัน ซึ่งการที่เราจะสามารถผลิตไฟฟ้าแต่มากนั้นเราจะเป็นต้องให้พระอาทิตย์ปรากฏนานเท่าที่จะนานได้ พลังงานที่ได้จากลำแสงโดยตรงนั้นจะสูญเสียไปตามมุม cosine ระหว่างแสงกับพื้นที่รับแสงดังแสดงในรูป

 

 

รูปที่ 3 แสดงค่าการสูญเสียเนื่องจากมุมสะท้อน


 

พระอาทิตย์นั้นเคลื่อนที่ 360 องศาจากตะวันออกไปยังตะวันตกต่อวัน หรือถ้าเรายึดพื้นที่ใดๆเป็นเกณฑ์ก็จะเหลือพียง 180 องศาต่อระยะเวลาเฉลี่ยครึ่งวัน(มากในฤดูร้อนและน้อยในฤดูฝนกับหนาว) ซึ่งถ้าเราติดตั้ง Solar cell ให้หันอยู่ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นกับพระอาทิตย์ตกจะทำให้เราสูญเสียพลังงานไฟฟ้าที่เราจะผลิตได้ถึง 75 % ในตอนเช้าและตอนเย็น

 

 

รูปที่ 4 แสดงการเคลื่อนที่ของพระอาทิตย์ในแต่ละวัน


         ดังนั้นถ้าเราต้องการลดการสูญเสียในการผลิตกระแสไฟฟ้าลง แผง Solar cell ของเรานั้นต้องสามารถหันตามพระอาทิตย์ได้ ซึ่งการที่จะทำให้ Solar cell ของเรานั้นสามารถหันตามพระอาทิตย์ได้นั้นเราจะเป็นต้องใช้ Tracker ในการค้นหาและหมุนแผง Solar cell

 

 

รูปที่ 5 แสดงการหมุนแผง Solar cell ตามพระอาทิตย์


          และนอกจากพระอาทิตย์จะเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกแล้ว พระอาทิตย์ยังเปลี่ยนวงรอบการเคลื่อนที่ในแต่ละช่วงของปีตาม เพราะว่าการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์นั้นไม่ได้เป็นวงกลม ซึ่งการเคลื่อนที่ของพระอาทิตย์ในแต่ละช่วงของปีนั้นสามารถพิจารณาได้ดังภาพ

 

 

รูปที่ 6 แสดงการวงรอบการเคลื่อนที่ของพระอาทิตย์ในแต่ละช่วงของปี


          ดังนั้นการตั้งแผง Solar cell เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพที่สุดนั้นเราจำเป็นต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนไปของวงรอบของการเคลื่อนที่นี้ด้วย

Single axis trackers

Single axis trackers หรือตัวติดตามแบบแกนเดียวนั้นจะมีมุมอิสระ 1 มุมสำหรับการหมุน โดยตัวติดตามแบบแกนเดียวนั้นมีหลายรูปแบบ สามารถแบ่งออกเป็นแบบใหญ่ๆได้ 4 รูปแบบดังนี้

1. Horizontal single axis tracker (HSAT)

Horizontal single axis tracker หรือตัวติดตามแกนเดียวแบบแนวนอน มีแกนหมุนวางอยู่ในแนวนอนขนานกับพื้นดิน ทำให้เสายึดแต่ละข้างของตัวติดตามสามารถใช้ร่วมกันได้ทำให้ลดค่าใช่จ่ายในการติดตั้งแถมยังสามารถออกแบบพื้นที่ติดตั้งได้ง่าย โดยรูปแบบของตัวติดตามแกนเดียวแบบแนวนอนนั้นจะวางแท่งยึดแผง solar cell ไว้ตามแนวนอนยึดหัวท้ายด้วย bearings ว่างให้แกนหมุนอยู่ในแนวจากเหนือไปใต้เพื่อให้สามารถหมุนแกนให้แผง solar cell หันจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกได้

รูปที่ 7 Horizontal type single-axis trackers


รูปที่ 8 single-axis solar trackers ที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งอยู่ในรัฐ California ,U.S.A


2. Vertical single axis tracker (VSAT)

Vertical single axis tracker หรือตัวติดตามแกนเดียวแบบแนวตั้ง มีแกนหมุนตั้งฉากกับพื้นดินตัวติดตามสามารถหันจาก ตะวันตกไปตะวันออกได้ตลอดทั้งวัน ตัวติดตามแกนเดียวแบบแนวตั้งมีประสิทธิภาพมากกว่าตัวติดตามแกนเดียวแบบแนวนอน เพราะมีมุมรับแสงที่อยู่กว้างกว่า ในส่วนของพื้นที่ติดตั้งนั้นค่อนข้างจะยุ่งยากกว่า ตัวติดตามแกนเดียวแบบแนวนอน เพราะจะต้องพิจารณาถึงเงาของแผง solar cell ว่าตกกระทบตรงไหนบ้างเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานที่ไม่จำเป็นและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากที่ดิน  อีกทั้งยังต้องระวังเรื่องลักษณะของเงาตกกระทบที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงของปีอีกด้วย โดยรูปแบบของตัวติดตามแกนเดียวแบบแนวตั้งนั้น จะติดตั้งให้แผง solar cell หันไปหาพระอาทิตย์แล้วยึดด้วยแกนในตั้งหรือการติดตั้งอีกรูปแบบหนึ่งคือวางแผง solar cell เหมือนกันตัวติดตามแกนเดียวแบบแนวนอนแต่ส่วนฐานสามารถหมุนเคลื่อนที่ได้

 

 

รูปที่ 9 Vertical single axis tracker




รูปที่ 10 Vertical Single-Axis Tracker Project – Ningxia, China


3. Tilted single axis tracker (TSAT)

          Tilted single axis tracker หรือตัวติดตามแกนเดียวแบบเอียง เป็นตัวติดตามที่ที่มีแกนหมุนวางอยู่ระหว่างแนวตั้งและแนวนอนโดยมุมเอียงนั้นนอกจากจะลดผลกระทบจากการปะทะจากของลมแล้วยังเป็นการลดความสูงลงอีกด้วย พื้นที่ติดตั้งนั้นจะคล้ายกับตัวติดตามแกนเดียวแบบแนวตั้ง ที่ต้องระวังเรื่องของเงาตกกระทบ และมุมของแกนหมุนนั้นถูกจำกัดอยู่กับมุมเอียงและความกว้างของแผง solar cell

 

 

รูปที่ 11 Tilted single axis tracker




รูปที่ 12 Single axis trackers แบบมีมุมเอียง 20 องศาที่ Nellis Air Force Base in Nevada, USA.


          ในโครงงานนี้นั้นทางผู้จัดทำเลือกใช้ตัวติดตามแบบ VSAT เพราะว่ามีความง่ายในการออกแบบและการควบคุมอีกทั้งยังให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับทั้ง 3 แบบ เพราะสามารถใช้ได้ตลอดทั้งปีถึงแม้จะจะมีการเปลี่ยนวงรอบการโคจรของพระอาทิตย์แล้วยังมีมุมทำงานที่แคบอีกด้วยทำให้เป็นการประหยัดต้นทุนในการทำงานเพราะชุดหมุนแกนไม่ต้องทำงานบ่อยๆ

 

 

รูปที่ 13 แสดงมุมกระทบของแสงแดดที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงของปี




รูปที่ 14 แสดงมุมทำงานของตัวติดตามแบบ VSAT


คุณสมบัติการทำงานของโครงงาน

–  สามารถติดตามแสงอาทิตย์ได้เป็นมุม  45°

–  สามารถหมุนหามุมที่แสงตกกระทบมากสุด

การต่อวงจรสำหรับชุด Vertical single axis tracker

 

รูปที่ 15 การต่อวงจรภายในของชุด Vertical single axis tracker


         จากรูปที่ 15 ส่วนประกอบหลักของวงจรคือ บอร์ด STM32F4 ที่เป็นหัวใจหลักในการประมวลผลของชุด Vertical single axis tracker ส่วนต่อมาคือ Power supply ขนาด 5V 12A ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในวงจร ถัดมาคือ ชุดเซนเซอร์วัดค่าแสงโดยมี LDR เป็นตัวเซนเซอร์ โดยตัว LDR นั้นมีคุณสมบัติคือเมื่อได้รับค่าแสงแล้วจะทำให้ความต้านทานภายในตัว LDR ลดลงทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ เราจึงนำคุณสมบัติตรงนี้ของ LDR มาใช้ในการวัดค่าแสงโดยการนำ LDR มาต่อเข้าวงจร Voltage Divider เพื่อวัดค่าแรงดันตกคร่อมของ LDR แล้วส่งค่าไปให้กับโปรแกรม ส่วนต่อมาคือ DC Servo Motor ที่ทำการควบคุมโดยการจ่ายสัญญาณพัลส์ที่ Duty ต่างๆเพื่อกำหนดองศาในการหมุน โดยมีหน้าที่หลักในวงจรคือเป็นชุดหมุนแผง solar cell เพื่อให้แผง solar cell อยู่ในตำแหน่งที่โดยแสงมากที่สุด และในส่วนสุดท้ายคือ จอแสดงผลขนาด 16X4 ตัวอักษรเพื่อใช้ในการแสดงผลค่าแรงดันตกคร่อม LDR แต่ละตัว และค่าของ Duty Cycle ณ ปัจจุบันที่บอร์ด STM32F4 จ่ายให้กับ DC Servo Motor

อุปกรณ์ที่ใช้ในโครงงาน

บอร์ด STM32F401VG จำนวน 1 บอร์ด


DC Servo Motor


ชุดเซนเซอร์วัดแสงโดยมี LDR เป็นเซนเซอร์


Solar cell


แหล่งจ่ายไฟขนาด +5 VDC 12A จำนวน 1 ชุด


โปรแกรม Simulink ที่สมบูรณ์ของโครงงาน

รูปที่ 16 โปรแกรม Simulink ที่สมบูรณ์ของโครงงาน


อธิบายโปรแกรมหลัก

หมายเลข 1 เป็นการประกาศตัวแปรต่างๆเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลในโปรแกรม

หมายเลข 2 เป็นการประกาศเพื่อกำหนดเลือกตัว คอมไพเลอร์, เบอร์ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่จะทำการเขียน, ความเร็วในการประมวลผลที่จะใช้และรูปแบบของการดาวน์โหลดโปรแกรมลงตัวไมโครคอนโทรลเลอร์

หมายเลข 3 เป็นการประกาศใช้ ADC ที่ขา PA2 กับ PA3 เพื่อใช้ในการอ่านค่าสัญญาณจากเซนเซอร์

หมายเลข 4 เป็นการคูณค่า 50/4095 กับค่าที่ได้จากค่า ADC จากขา PA2 กับ PA3 เพื่อแปลงค่าช่วง 0 – 4096 เป็นช่วงแรงดันจากเซนเซอร์ในช่วง 0 – 50V

หมายเลข 5 เป็นการแปลงประเภทของค่าที่ออกมาจากหมายเลข 4 จากประเภท Double ให้เป็น int32 เพื่อเป็นการตัดทศนิยมทิ้ง

หมายเลข 6 เป็นการนำค่าที่ได้จากขา PA2 ที่ผ่านการคูณค่าและแปลงประเภทเรียบร้อยแล้วไปเก็บไว้ในตัวแปร “VR1”

หมายเลข 7 เป็นการนำค่าที่ได้จากขา PA3 ที่ผ่านการคูณค่าและแปลงประเภทเรียบร้อยแล้วไปเก็บไว้ในตัวแปร “VR2”

หมายเลข 8 เป็นการประกาศเพื่อกำหนดขาของไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อที่จะทำการเชื่อมต่อกับจอ LCD ซึ่งในที่นี้เราจะใช้การเชื่อมต่อสื่อสารแบบ 4 bit ทางเดียว และกำหนดขาที่จะทำการสื่อสารเป็นขา PE7 – PE9 และ PE12 – PE15

หมายเลข 9, 12, 15 และ 18 เป็นการกำหนดค่าคงที่ในการแสดงผลให้แก่จอ LCD ซึ่งเป็นการกำหนดแถว บรรทัด และจุดเริ่มต้นในการแสดงผล

หมายเลข 10, 13, 16 และ 19 เป็นการนำค่าที่ได้เก็บไว้ในตัวแปรส่งไปแสดงผลที่จอ LCD

หมายเลข 11, 14, 17 และ 20 เป็นการนำรูปแบบการแสดงผลข้อความที่จะแสดงผลตามที่เราได้ตั้งค่า กำหนดค่าไว้แล้วนั้นมาทำการส่งออกออกทางจอ LCD เพื่อแสดงผล ซึ่ง 11 จะเป็นบรรทัดที่ 1, 14 จะเป็นบรรทัดที่ 2, 17 จะเป็นบรรทัดที่ 3 และ 20 จะเป็นบรรทัดที่ 4 ตามลำดับ

หมายเลข 21  เป็นการสร้างสัญญาณ Pulse ซึ่งสัญญาณนี้จะเป็นตัวไปเรียกให้บล็อกหมายเลข 24 ทำงานที่ความถี่เท่าไหร่ หรือ จะทำงานทุกๆกี่วินาที

หมายเลข 22 เป็นการอ่านค่าจากตัวแปร VR1 เพื่อส่งค่าไปยังบล็อกหมายเลข 24 และ 25

หมายเลข 23 เป็นการอ่านค่าจากตัวแปร VR2 เพื่อส่งค่าไปยังบล็อกหมายเลข 24 และ 26

หมายเลข 24 เป็นบล็อกของการเขียนแบบ State-Flow ซึ่งในการเขียนนั้นเราจะทำการประกาศ INPUT,  OUTPUT และสร้างตัวที่จะเรียกให้ State-Flow ทำงานก่อน ในที่นี้เราใช้ หมายเลข21 ในการเรียกให้ตัว State-Flow ทำงาน การเขียนนั้นเราก็จะประกาศค่าเริ่มต้นของตัวแปรก่อนและกำหนด case ต่างๆที่เราต้องการ ในที่นี้กำหนดให้รับค่า INPUT เข้ามา 2 ค่า แล้วนำไปเข้าเงื่อนไข if – else เพื่อเป็นการกำหนดค่าของ OUPUT ที่จะออกมาดังภาพที่

หมายเลข 25 เป็นการส่งค่าที่ได้รับมาจากหมายเลข 22 ไปเก็บไว้ในตัวแปร “Line3”

หมายเลข 26 เป็นการส่งค่าที่ได้รับมาจากหมายเลข 23 ไปเก็บไว้ในตัวแปร “Line4”

หมายเลข 27 เป็นการส่งค่าที่ได้รับมาจากหมายเลข 24 ไปเก็บไว้ในตัวแปร “Line2”

หมายเลข 28 เป็นการการส่งสัญญาณดิจิตอลออกไปให้DC Servo Motor ที่ขา PA1

 

อธิบาย State-Flow

รูปที่ 17 โปรแกรมภายใน State-Flow


หมายเลข 1 เป็นโหนดที่มีเงื่อนไขหลัก(ความสำคัญของเงื่อนไขดูได้จากหมายเลขของกิ่งที่แตกออกจากโหนดเลข 1 คือมีความสำคัญเป็นอันดับ 1 เป็นต้น) คือ ถ้า “ตัวแปร VR1 == ตัวแปร VR2” ให้จบการทำงานของ State-Flow แต่ถ้าไม่ ให้โปรแกรมผ่านต่อไปยังโหนดหมายเลข 2

หมายเลข 2 เป็นโหนดที่มีเงื่อนไขหลักคือถ้า “ตัวแปร VR1 < ตัวแปร VR2” ให้โปรแกรมไปทำงานที่โหนดหมายเลข 5 แต่ถ้า “ตัวแปร VR1 > ตัวแปร VR2” ให้โปรแกรมไปทำงานที่โหนดหมายเลข 3

หมายเลข 3 เป็นโหนดที่มีเงื่อนไขคือถ้า “ตัวแปร Duty<10” ให้โปรแกรมผ่านไปทำงานยังหมายเลข 4 แต่ถ้า “ตัวแปร Duty>10” ให้จบการทำงานของ State-Flow

หมายเลข 4 เป็นการกำหนดค่าให้เพิ่มค่าของตัวแปร Duty ขึ้น 0.01

หมายเลข 5 เป็นโหนดที่มีเงื่อนไขคือถ้า “ตัวแปร Duty>5.5” ให้โปรแกรมผ่านไปทำงานยังหมายเลข 6 แต่ถ้า “ตัวแปร Duty<5.5” ให้จบการทำงานของ State-Flow

หมายเลข 6 เป็นการกำหนดค่าให้ลดค่าของตัวแปร Duty ลง 0.01

 

หมายเหตุ  เนื่องจากในการควบคุม DC Servo Motor รุ่นที่ผู้จัดทำเลือกใช้มีการควบคุมการหมุนของ DC Servo Motor โดยใช้การปรับความกว้างของ Pulse อยู่ในช่วง 1 ms – 2 ms ที่ความถี่ 50 Hz เราสามารถคำนวณเพื่อหาเป็นช่วง Duty Cycle ได้โดยใช้สูตร   ซึ่งเมื่อคำนวณตามสูตรจะทำให้เราได้ค่าช่วง Duty Cycle อยู่ในช่วง 5% – 10%

หลักการทำงาน

รูปที่ 18 แสดงการหันหาแสง


          เมื่อเริ่มการทำงาน DC Servo Motor จะหมุนแผงโซลาเซลล์เพื่อหาตำแหน่งที่มีแสงตกกระทบแผ่นโซลาเซลมากที่สุดโดยเปรียบเทียบจากแรงดันตกคร่อมที่ LDR ทั้งสองตัวว่าเท่ากันหรือไม่

รูปที่ 19 แสดงหน้าจอ LCD เมื่อแสงตกกระทบที่เซนเซอร์ไม่เท่ากัน


          ถ้าแรงดันตกคร่อมที่ LDR ทั้ง 2 ตัวเท่ากันโปรแกรมจะหยุดเพิ่มค่า Duty Cycle ทำให้ DC Servo Motor หยุดหมุนเนื่องจากตำแหน่งนั้นคือตำแหน่งที่แสงตกกระทบมากที่สุด

รูปที่ 20 แสดงหน้าจอ LCD และแผงโซลาเซลเมื่อแสงตกกระทบที่เซนเซอร์เท่ากัน


ผลการทดลอง

การทดสอบที่ ทดสอบการเคลื่อนที่จากจุดศูนย์กลางไปยังตำแหน่งของแหล่งกำเนิดแสง

เมื่อเริ่มต้นเราจะวางแหล่งกำเนิดแสงไว้ในตำแหน่งที่ตรงกลางเพื่อให้แผงโซลาเซลอยู่ที่ตำแหน่งกลาง


 

รูปที่ 21 แสดงตำแหน่งแผงโซลาเซลเมื่อแหล่งกำเนิดแสงอยู่ตรงกลาง


จากนั้นย้ายแหล่งกำเนิดแสงไปที่ตำแหน่งทางด้านซ้ายของแผงโซลาเซลเป็นมุม 45°


 

รูปที่ 22 แสดงการย้ายแหล่งกำเนิดแสงไปทางซ้ายเป็นมุม 45°


จากนั้นย้ายแหล่งกำเนิดแสงกลับมายังที่ตำแหน่งกลาง


 

รูปที่ 23 แสดงการย้ายแหล่งกำเนิดแสงกลับมาตรงกลาง


จากนั้นย้ายแหล่งกำเนิดแสงไปที่ตำแหน่งทางด้านขวาของแผงโซลาเซล


 

รูปที่ 24 แสดงการย้ายแหล่งกำเนิดแสงไปทางขวาเป็นมุม 45°


 

ผลการทดสอบที่ พบว่าเครื่อง VSAT สามารถหมุนแผงโซลาเซลไปหาตำแหน่งของแหล่งกำเนิดแสงทั้งการเคลื่อนที่จากจุดศูนย์กลางไปยังด้านซ้ายหรือไปยังด้านขวาได้อย่างแม่นยำ

การทดสอบที่ 2 ทดสอบการเคลื่อนที่จากจุดใดๆไปยังตำแหน่งของแหล่งกำเนิดแสง

เมื่อเริ่มต้นเราจะทดสอบโดยการวางแหล่งกำเนิดแสงไว้ ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยใช้การสุ่ม


 

รูปที่ 25 แสดงการย้ายแหล่งกำเนิดแสงแบบทันทีทันใดไปทางซ้าย




รูปที่ 26 แสดงแผงโซลาเซลหันมาตรงกับแหล่งกำเนิดแสง


จากนั้นย้ายแหล่งกำเนิดแสงไปที่ตำแหน่งที่ 2 โดยอยู่ตรงข้ามกับตำแหน่งเดิม


 

รูปที่ 27 แสดงการย้ายแหล่งกำเนิดแสงแบบทันทีทันใดไปทางขวา




รูปที่ 28 แสดงแผงโซลาเซลหันมาตรงกับแหล่งกำเนิดแสง


      ผลการทดสอบที่ พบว่าเครื่อง VSAT สามารถหมุนแผงโซลาเซลไปหาตำแหน่งของแหล่งกำเนิดแสงทั้งสองจุดได้อย่างแม่นยำ

สรุปผลการโครงงาน

        เครื่อง  Vertical single axis tracker เมื่อทำการทดสอบสามารถทำการหามุมที่แสงตกกระทบได้แม่นยำ สามารถติดตามแสงอาทิตย์ได้เป็นมุม  45° ซึ่งตรงตามคุณสมบัติการทำงานของโครงงานที่ได้ตั้งไว้ แต่เนื่องจากโครงงานนี้ใช้ DC Servo Motor เป็นหมุนแผงโซลาเซลจำลอง ทำให้เมื่อต้องการนำไปใช้งานจริงในเชิงพาณิชไม่สามารถทำได้เพราะว่าแผงโซลาเซลในการผลิตกระแสไฟฟ้าจริงมีขนาดที่ใหญ่ ทำให้ไม่สามารถใช้ DC Servo Motor เป็นอุปกรณ์ออกแรงได้ เนื่องจากไม่มีกำลังมากพอ ทำให้โครงงานนี้ถ้าจะนำไปใช้จริงในเชิงพาณิชจะต้องปรับแก้ในส่วนของโค้ดโปรแกรมในการสั่งให้อุปกรณ์ออกแรงทำงานเพื่อให้เครื่อง Vertical single axis tracker  สามารถทำงานได้เหมือนเดิม แต่ทั้งนี้แม้ว่าโครงงานนี้จะไม่สามารถนำไปใช้งานจริงในเชิงพาณิชได้แต่ก็สามารถใช้เป็นชุดจำลองเพื่อสร้างแนวความคิดในการวางเงื่อนไขการทำงาน และเป็นชุดสาธิตการทำงานของเครื่องติดตามแสงอาทิตย์ได้

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม